Bangkok Counselling Service บางกอก เคาเซลลิ่ง เซอร์วิส When you need to talk We listen
                                                          Bangkok Counselling Service                                                               บางกอก เคาเซลลิ่ง เซอร์วิส                                                                                                                                     When you need to talk                                                                                           We listen  

คำถามที่พบบ่อย

FAQ

นักบำบัดคือใคร
นัก บำบัดคือบุคคลที่ได้รับการอบรมฝึกฝนเฉพาะทางเพื่อให้สามารถช่วยเหลือและ จัดการกับปัญหา อารมณ์และความรู้สึกของผู้รับการบำบัด นักบำบัดมีหลากหลายและมาจากทุกกลุ่มในสังคม คุณอาจจะอยากรับคำปรึกษาจากนักบำบัดที่เหมือนหรือแตกต่างกับคุณในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพศ เชื้อชาติ ตัวตนทางเพศ ซึ่งเป็นสิทธิของคุณที่จะสามารถร้องขอให้ได้รับคำปรึกษาจากนักบำบัดในแบบที่ คุณต้องการได้อย่างเต็มที่

 

นักบำบัดจะต้องผ่านการอบรมฝึกฝนอะไรมาบ้าง
นัก บำบัดทุกคนจะต้องได้รับการฝึกฝนตามาตรฐานขององค์กรที่สังกัดเป็นสมาชิกอยู่ เป็นระยะเวลาอย่างต่ำ  2 ปี และอย่างต่ำ 4 ปี สำหรับนักบำบัดที่ให้บริการด้านจิตบำบัด ทุกคนจะต้องมีนักบำบัดมืออาชีพที่ผ่านการจดทะเบียนกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง คอยดูแลและให้คำปรึกษา คุณสามารถสอบถามนักบำบัดของคุณได้ว่าพวกเขาผ่านการอบรมมาจากที่ใดและเป็น สมาชิกขององค์กรด้านจิตวิทยาแห่งไหน ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นนักบำบัดจากประเทศอังกฤษจะมี 2 องค์กรที่เกี่ยวข้องคือBACP และ UKCP.

 

ผู้ดูแลของนักบำบัดจะอยู่ร่วมในการบำบัดหรือไ
จะ ไม่มีผู้ดูแลเข้าร่วมในการบำบัดและพวกเขาจะไม่รู้ถึงตัวตนของคุณอีกด้วย ข้อมูลในการบำบัดจะถูกเก็บเป็นความลับอย่างสูงสุด นักบำบัดจะพูดคุยกับผู้ดูแลเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังทำอยู่เท่านั้น ก็สามารถลองเปลี่ยนวิธีได้เช่นกัน

 

การให้คำปรึกษา การบำบัดมีหลายประเภทหรือไม่
การ บำบัดมีหลายประเภท มีตั้งแต่รูปแบบที่นักบำบัดเป็นผู้ดำเนินการอย่างเต็มที่ไปจนถึงแบบที่ผู้ รับการบำบัดได้ควบคุมทุกอย่าง ในการบำบัดบางประเภทอาจจะมีกิจกรรมอื่นๆร่วมด้วย ยกตัวอย่างเช่น การพบปะผู้คนที่หลากหลายการใช้บทบาทสมมุติและการวาดภาพศิลปะ ตัวนักบำบัดเองก็มีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นคุณจึงสามารถเลือกเข้ารับคำปรึกษาในรูปแบบที่คุณสบายใจมากที่สุดทั้ง จากตัวนักบำบัดและรูปแบบการบำบัด
 

การเข้ารับคำปรึกษาต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าใด
ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันออกไป ในบางครั้งองค์กรการกุศลหรือ NGO อาจ มีการจัดกิจกรรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้คำปรึกษาและการบำบัดแก่กลุ่มเป้าหมายที่เจาะจง ดังเช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนที่เป็นโรคที่โครงการระบุ ชนกลุ่มน้อย กลุ่มคนที่สูญเสียคนที่รักไป เป็นต้น คุณยังสามารถปรึกษาแพทย์ของคุณให้แนะนำนักบำบัดให้ซึ่งในกรณีนี้อาจจะมีหรือ ไม่มีค่าใช้จ่ายก็เป็นได้ ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับการบำบัดส่วนบุคคลนั้นจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยดังนั้น คุณควรสอบถามรายละเอียดเรื่องราคาก่อนที่จะตกลงนัดเวลาทุกครั้ง

 

6ระยะเวลาในการเข้ารับคำปรึกษานานเท่าใด
การ เข้ารับคำปรึกษาในแต่ละครั้งมักจะกินเวลาประมาณ 50 - 60 นาที โดยทั่วไปมักจะเป็นการนัดพบสัปดาห์ละครั้ง แต่คุณสามารถตกลงเพิ่มหรือลดเวลาได้ตามความจำเป็ นคุณ สามารถตกลงว่าจะให้มีการนัดทั้งหมดกี่ครั้ง แต่มักจะมีการกำหนดจำนวนครั้งอย่างแน่นอนถ้าหากคุณเข้าร่วมโครงการให้คำ ปรึกษาจากองค์กรเพื่อการกุศลหรือได้รับการแนะนำจากแพทย์ของคุณ
 

การให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจ (Counselling) กับจิตบำบัด (Psychotherapy) แตกต่างกันอย่างไร
ใน ทางปฏิบัติแล้วทั้ง 2 อย่าง มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย บางคนให้คำจำกัดความของการให้คำปรึกษาเป็นการให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่ เฉพาะเจาะจง ในขณะที่การจิตบำบัดจะเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจทั้งหมดอย่างต่อ เนื่อง บางคนอาจจะมีความเห็นว่าทั้ง 2 อย่าง แตกต่างกันเนื่องมาจากทฤษฎีสนับสนุนของแต่ละอย่าง การให้คำปรึกษามีรากฐานมาจากการให้ผู้รับการบำบัดเป็นศูนย์กลาง ส่วนจิตบำบัดนั้นมีรากฐานมาจากการวิเคราะห์จิต 
 

สามารถทดลองเข้ารับคำปรึกษาหรือการบำบัดก่อนที่จะตกลงนัดหมายเวลาจริงได้หรือไม่
นัก บำบัดส่วนมากก็อยากจะได้พบกับผู้ที่จะมาเข้ารับการบำบัดก่อนที่จะตัดสินใจ ว่าควรจะต้องพบกันรวมทั้งสิ้นกี่ครั้ง โดยมักจะเรียกว่าเป็นการนัดเพื่อประเมินความต้องการ จึงเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้ซักถามถึงข้อข้องใจต่างๆที่คุณมีและยังสามารถเล่า ถึงเหตุผลที่ทำให้คุณต้องมาเข้ารับคำปรึกษาได้อีกด้วย คุณไม่ควรคิดว่าการนัดพบนี้เป็นการสัมภาษณ์หรือซักไซ้ไล่เรียงแต่ควรถือเป็น โอกาสที่คุณจะได้ประเมินว่านักบำบัดคนนั้นน่าจะเหมาะสมและช่วยเหลือในปัญหา ของคุณได้หรือไม่ ซึ่งในขณะเดียวกันตัวนักบำบัดเองก็จะประเมินตนเองเช่นกันว่าจะสามารถให้ความ ช่วยเหลือในปัญหาของคุณได้หรือไม่ หากคุณตกลง ใจที่จะรับคำปรึกษาอย่างจริงจังต่อไปก็สามารถตกลงกันเรื่องจำนวน ครั้งในการนัดพบครั้งนี้ได้ทันที
 

จะสามารถถามคำถามอะไรได้บ้าง
คุณ สามารถถามอะไรก็ได้ที่คุณสงสัย อย่างไรก็ตามนักบำบัดเองก็อาจจะเลือกที่จะไม่ตอบในบางคำถามที่ค่อนข้างเป็น เรื่องส่วนตัวได้เช่นกัน ถ้าหากคุณอยากเข้ารับคำปรึกษากับนักบำบัดที่เป็นเพศเดียวกันหรือมีตัวตนทาง เพศแบบเดียวกัน คุณควรจะสอบถามและบอกสิ่งที่คุณต้องการก่อนการนัดพบจริง
 

การรักษาความลับคืออะไร
จะ ไม่มีการนำเรื่องใดๆที่มีการพูดคุยกันในการบำบัดไปเผยแพร่หรือบอกต่ออย่าง เด็ดขาด นักบำบัดทุกคนทำงานภายใต้ข้อกำหนดทางอาชีพที่ห้ามมิให้มีการนำข้อมูลใดๆของ ผู้มารับการบำบัดไปเผยแพร่ จะมีข้อยกเว้นในบางกรณีก็ต่อเมื่อนักบำบัดเชื่อว่าคุณมีแนวโน้มที่จะทำร้าย ตัวเองหรือผู้อื่น แต่อย่างไรก็ตามมักจะมีการบอกคุณล่วงหน้าก่อน ในทางตรงกันข้ามคุณไม่จำเป็นต้องรักษาเรื่องราวในการมารับคำปรึกษาเ ป็นความลับ เนื่องจากข้อมูลต่างๆเป็นข้อมูลส่วนตัวของคุณ และคุณมีสิทธิที่จะพูดถึงอย่างไรกับใครก็ได้
 

การเข้ารับคำปรึกษาจะทำให้รู้สึกดีขึ้นหรือไม่
การ เข้ารับคำปรึกษาอาจทำให้คุณเกิดความรู้สึกได้หลากหลาย บางครั้งคุณอาจจะรู้สึกแย่มากกว่าช่วงก่อนที่จะเข้ารับคำปรึกษาก็เป็นได้ เนื่องจากคุณจะต้องนึกถึงเรื่องราวที่ก่อกวนจิตใจของคุณอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามคุณจะสามารถผ่านพ้นความรู้สึกนั้นไปได้จากการช่วยเหลือของ นักบำบัดที่จะทำให้คุณสามารถสังเกตเห็นและวิเคราะห์ปัญหานั้นเพื่อเรียนรู้ ที่จะรับมือหรือจัดการกับมัน และรู้สึกดีขึ้นได้ในที่สุด 
 

หากพลาดนัดจะต้องทำอย่างไร
จะ ไม่มีการชดเชยเวลาหากมีการพลาดนัดเกิดขึ้น หากคุณไม่สามารถมาพบกับนักบำบัดได้ คุณควรจะรีบแจ้งนักบำบัดของคุณโดยเร็วที่สุด หากคุณตัดสินใจที่จะไม่ไปพบนักบำบัดในบางสัปดาห์เนื่องจากคุณรู้สึกไม่สบาย ใจจากการนัดพบครั้งก่อนๆ คุณควรแจ้งนักบำบัดของคุณให้ทราบทันทีเช่นกัน อย่างไรก็ตามควรมีการพูดคุยและทำการตกลงหากมีการพลาดนัดตั้งแต่ครั้งแรกที่ พบกับบักบำบัดของคุณ
 

หากต้องการจะยุติการรับคำปรึกษาจะต้องทำอย่างไร
การ บำบัดบางอย่างจะมีระยะเวลาที่แน่นอนเช่น 6 -12 สัปดาห์ซึ่งอาจมีการขยายเวลาออกไปอีก 6 – 12 สัปดาห์ ซึ่งอาจมีการขยายเวลาออกไปอีก สัปดาห์หากมีความจำเป็น คุณสามารถตกลงเรื่องจำนวนครั้งและเวลาในการเข้ารับคำปรึกษาได้ การทำเช่นนี้จะทำให้สามารถกำหนดได้ว่าการบำบัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แต่ในบางครั้งเมื่อการบำบัดเป็นแบบไม่มีกำหนดการสิ้นสุดคุณจะสามารถไปพบนัก บำบัดได้อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ หากคุณรู้สึกว่าการบำบัดสามารถยุติลงได้แล้ว คุณควรจะแจ้งนักบำบัดล่วงหน้า เพื่อที่คุณทั้งคู่จะสามารถดำเนินการบำบัดไปในลักษณะที่กำลังจะสิ้นสุดลง และคุณจะได้คิดถึงสิ่งต่างๆที่คุณอาจต้องการความช่วยเหลือหลังจากสิ้นสุดการ บำบัดไปแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดหากรู้สึกว่าสมควรแก่เวลาที่จะต้องหยุดการนัดพบ ผู้คนส่วนมากเมื่อหยุดการบำบัดไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก็ยังสามารถกลับมารับคำ ปรึกษาได้อีกหากมีความจำเป็นหรือมีความต้องการ

 

คำ ถามเหล่านี้คือคำถามที่เรามักจะได้รับจากผู้ที่มีความสนใจเข้ารับคำปรึกษา เราหวังว่าข้อมูลนี้จะสามารถตอบคำถามในใจของคุณได้เช่นกัน หากคุณมีข้อสงสัยอื่นๆหรือคาดว่าคำถามอื่นๆน่าจะเป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป ที่สนใจ คุณสามารถติดต่อเราโดยส่งอีเมล์มาได้ทุกเวลา จุดประสงค์ของเนื้อหาในส่วนนี้เพื่อจะให้ความรู้เรื่องของการให้คำปรึกษาและ จิตบำบัดแก่บุคคลทั่วไป เมื่อคุณอ่านจบแล้วตัดสินใจที่จะเข้ารับคำปรึกษาไม่ว่ากับที่ใดก็ตาม เราถือว่าเราได้บรรลุจุดมุ่งหมายของเราแล้ว คำตอบในส่วนนี้เขียนขึ้นแบบไม่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นคุณอาจพบว่ามีนักบำบัดอื่นๆที่แตกต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ตามเราหวังว่าคุณจะเลือกนัดพบกับนักบำบัดที่ทำให้คุณรู้สึกสบายใจ และรู้สึกพอดีกับคุณ คุณมีสิทธิที่จะไปพบกับนักบำบัดมากกว่า 1 คนก่อนที่จะตัดสินใจเข้ารับคำปรึกษากับคนใดคนหนึ่ง ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมหน้าเวบไซต์ของเรา

Logo with name Logo
WhatClinic Patient Service Award
Megaphone with speach bubble We're Hiring
woman holding baby surrounded by thoughts and question marks Perinatal-Infant Mental Health
EMDR now available in Thai only EMDR มีให้บริการเป็นภาษาไทย
Print | Sitemap
© Sala Som Group